สหรัฐอเมริกา

สภาพทางภูมิศาสตร์

ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States of America) หรือมักย่อว่า สหรัฐฯ หรืออเมริกา เป็นสหพันธรัฐประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และ 1 เขตปกครองกลาง คือ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีเนื้อที่แผ่นดินใหญ่เป็นพื้นที่ของรัฐติดต่อกันถึง 48 รัฐ โดยมีอีก 2 รัฐ คือรัฐอลาสก้าอยู่ทางตะวันตกตอนเหนือติดประเทศแคนาดา และรัฐฮาวาย เป็นหมู่เกาะอยู่ด้านตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิคซึ่งห่างจากแผ่นดินใหญ่ถึง 3,200 กิโลเมตรโดยประมาณหรือใช้เวลาบิน 9 ชั่วโมงถึงแผ่นดินใหญ่ ส่วนกว้างของประเทศ จากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันตก ไปจนจรดมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออก มีความกว้างถึง 4,500 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้เวลาบินประมาณ 6 ชั่วโมง ทิศเหนือมีอาณาเขตติดกับประเทศแคนาดา ทิศใต้ติดกับประเทศเม็กซิโกและอ่าวเม็กซิโก เป็นประเทศที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล โดยมีพื้นที่ 9.9 ล้านตารางกิโลเมตร (หรือเทียบประมาณ 18 เท่าของพื้นที่ประเทศไทย)

Map_of_USA_with_state_names.svg

ประชากร

ชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงในยุคดึกดำบรรพ์อพยพจากยูเรเชีย(อาณาเขตรวมของยุโรปและเอเชียในยุคก่อน) ย้ายถิ่นมาสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่เมื่อ 15,000 ปีก่อน ชาวตะวันตกผิวขาวขยายเขตอาณานิคมจากยุโรปมาแผ่นดินสหรัฐอเมริกาเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหรัฐจึงกำเนิดจาก 13 อาณานิคมของบริติชตามชายฝั่งตะวันออก เมื่อเกิดข้อพิพาทอาณานิคมของชาวยุโรปนำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ผู้แทนจาก 13 อาณาเขตลงมติรับประกาศอิสรภาพอย่างเป็นเอกฉันท์ (และถึอเอาวันที่ 4 กรกฎาคม เป็นวันชาติของสหรัฐอเมริกา)

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้ดินแดนเพิ่มเติมจากฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักร เม็กซิโก และรัสเซีย และผนวกดินแดนรวมกับสาธารณรัฐเท็กซัสและสาธารณรัฐฮาวาย ความขัดแย้งระหว่างรัฐกสิกรรมทางตอนใต้และรัฐอุตสาหกรรมทางตอนเหนือ และการขยายจำนวนของทาสได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา เมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1860 ชัยชนะของฝ่ายเหนือได้ป้องกันการแบ่งแยกประเทศอย่างถาวร และยุติการค้าทาสตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ในราวคริสต์ทศวรรษ 1870 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานับว่าใหญ่ที่สุดในโลก และสงครามสเปน-อเมริกันและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เน้นย้ำถึงสถานภาพทางทหารของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นประเทศแรกซึ่งมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นและการแตกสลายของสหภาพโซเวียต ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นรัฐอภิมหาอำนาจเดี่ยวของโลก มีรายจ่ายทางทหารคิดเป็นกว่าร้อยละ 40 ของรายจ่ายทางทหารทั่วโลก และเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของโลกจนถึงปัจจุบัน

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการขนานนามว่า “Melting Pot” หมายถึงแหล่งรวมของประชากรที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรมที่หล่อหลอมรวมกัน ชนพื้นเมืองดั้งเดิมคืออินเดียนแดง หลังจากนั้นชาวอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดินทางอพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาโอกาส ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรขาวผิวขาวประมาณกว่า 75% นอกจากนี้ยังมีชาวผิวดำที่ถูกนำมาจากทวีปอาฟริกาในฐานะทาส แต่เดิมคนดำจะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ เช่น Washington DC, Chicago โดยเฉพาะ New York ส่วนชาวฮิสปานิก (Hispanic) หรือพวกเชื้อสายสเปนซึ่งมีอยู่ประมาณ 13% ยังมีชาวเอเชียหรือพวกเชื้อสายแถบหมู่เกาะแปซิฟิคประมาณ 4% รวมทั้งชนเชื้อสายญี่ปุ่นมากกว่า 1 ใน 3 อาศัยอยู่ใน Hawaii ส่วนรัฐที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดคือ California และรองลงมาคือ New York

สภาพภูมิอากาศ

ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศทุกรูปแบบ ลักษณะอากาศของแต่ละเขตจะแตกต่างกันไป เช่น ในฤดูร้อน อากาศด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทะเลทราย อุณหภูมิเกือบเท่าแถบเส้นศูนย์สูตร ส่วนฤดูหนาวในเขตทางตอนเหนือก็จะหนาวจัดจนหิมะตกหลายเดือน แถบที่อากาศอบอุ่นสบายไม่ค่อยมีหิมะคือที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย ฟลอริด้า และแอริโซน่า ส่วนในฤดูใบไม้ร่วง ใบไม้จะเปลี่ยนสีสันสวยงามมาก

อากาศหนาว เว้นแต่ในมลรัฐฮาวาย และมลรัฐฟลอริดา หนาวเย็นมากที่บริเวณขั้วโลกเหนือในมลรัฐอะแลสกา บริเวณที่ ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) จะค่อนข้างแห้งแล้งและมีความแห้งแล้งมากบริเวณที่ลุ่มภาค ตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะมีอากาศดีขึ้นเป็นครั้งคราวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยจะได้รับความอบอุ่นจากลมของเนินเขาด้านตะวันออกของเทือกเขาร๊อกกี้

ฤดูกาลมีทั้งหมด 4 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน (Summer) มิถุนายน – สิงหาคม
  • ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) กันยายน – พฤศจิกายน
  • ฤดูหนาว (Winter) ธันวาคม – กุมภาพันธ์
  • ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) มีนาคม – พฤษภาคม

USA Time Zone

มีการจัดแบ่งเวลาออกเป็น 4 โซน ดังนี้

เขตเวลา (Time Zone) เทียบเวลากับประเทศไทย เมืองที่อยู่ในเขตนี้
Eastern Time Zone (ET) ช้ากว่า 12 ชั่วโมง Boston, New York, Washington DC, Miami, Cleveland
Central Time Zone (CT) ช้ากว่า 13 ชั่วโมง Chicago, New Orleans
Mountain Time Zone (MT) ช้ากว่า 14 ชั่วโมง Denver, Phoenix
Pacific Time Zone (PT) ช้ากว่า 15 ชั่วโมง Los Angeles, San Francisco, Seattle
Alaska Time Zone (AT) ช้ากว่า 16 ชั่วโมง Anchorage, Fairbanks
Hawaii Time Zone (HT) ช้ากว่า 18 ชั่วโมง Honolulu
Daylight Saving Time*

การปรับเวลา Daylight Saving Time คือการปรับนาฬิกาเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงเมื่อเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ ช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศแถบอากาศหนาวจะได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่และยาวขึ้นกว่าปกติ สหรัฐฯ มักเริ่มตั้งแต่ 2 นาฬิกาของวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมหรือเดือนเมษายน จนกระทั่งถึง 2 นาฬิกาของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน ช่วงปรับเวลาออมแสงนี้จะกินเวลาประมาณครึ่งปี และจะปรับกลับเข้าเวลาเดิมปลายฤดูใบไม้ร่วง โดยทราบจากประกาศแจ้งจากรัฐบาล

การปกครอง

ลักษณะภูมิประเทศที่กว้างขวางมากของสหรัฐฯ ทำให้ภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างมากด้วย ดังนั้นรัฐต่างๆ จึงถูก แบ่งเป็น 7 เขตดังนี้ (นอกจากรัฐอลาสกาและรัฐฮาวาย ที่ไม่ได้อยู่บนแผ่นดินใหญ่)

  • Northwest States > Washington, Oregon, Idaho
  • Southwest States > California, Nevada, Utah, Arizona
  • North Central States > Montana, Wyoming, Colorado, North Dakota, South Dakota, Nebraska, Kansas, Minnesota, Iowa, Missouri
  • South Central States > New Mexico, Oklahoma, Arkansas, Texas, Louisiana
  • Midwest States > Wisconsin, Illinois, Michigan, Indiana, Ohio, Kentucky
  • Northeast States > New Hampshire, Vermont, New York, Pennsylvania, West Virginia, Virginia, Maine, Massachusetts, Rhode Island, Connecticut, New Jersey, Delaware, Maryland
  • Southeast States  > Tennessee, North Carolina, South Carolina, Mississippi, Alabama, Georgia, Florida

ระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุด ไม่มีนายกรัฐมนตรี มีสภา 2 สภาคือ วุฒิสภา (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งได้สมัยละ 4 ปี และเป็นได้ไม่เกิน 2 สมัย พรรคการเมืองสำคัญมี 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และ พรรคเดโมแครต (Democrat) ระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาเป็นแบบสหพันธรัฐ กล่าวคือรัฐต่างๆ 50 รัฐมีสิทธิในการปกครองตนเองสูงมาก สมาชิกรัฐสภาและผู้ว่าการทุกรัฐจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน มี Washington DC ตั้งอยู่ในเขต District of Columbia เป็นเมืองหลวง และเป็นศูนย์กลางของการปกครอง ภายในรัฐแต่ละรัฐจะแบ่งการปกครองเป็นเขตเมือง เทศบาลเมือง และการปกครองระดับท้องถิ่น

ศาสนา

ด้วยความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของประชากร และด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้อพยพ ชาวอเมริกันทุกคนจึงมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาใดก็ได้ตามความเชื่อมั่นของแต่ละบุคคลหรือไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ได้ ทุกรัฐมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาเท่าเทียมกัน ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ มีประชากรนับถือมากที่สุด

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจเสรี ชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะมีฐานะใกล้เคียงกัน มีเป็นจำนวนน้อยที่จะร่ำรวยมหาศาลหรือยากจนมาก สหรัฐเป็นประเทศที่มีความเจริญและเป็นผู้นำในธุรกิจหลายประเภท และทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องบิน คอมพิวเตอร์ รวมถึงการท่องเที่ยวและบันเทิง ความมั่งคั่งส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรม อุตสาหกรรม และธุรกิจเอกชน

Seattle

สังคมและวัฒนธรรม

ชาวอเมริกันเป็นผู้อพยพมาจากหลากหลายวัฒนธรรม กลุ่มคนต่างๆ เหล่านี้บางกลุ่มยังคงรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนไว้ เช่น กลุ่มชาวจีนมาเก่ากลุ่มอยู่ด้วยกันในไชน่าทาวน์ ชาวอิตาเลียนจะรวมตัวกันอยู่ในลิตเติลอิตาลี เป็นต้น

ชาวอเมริกันเป็นคนที่ไวต่อการเรียนรู้ และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ เต็มใจที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จัก มองโลกกว้างและมองสิ่งต่างๆ ในแง่ดี ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะหนึ่งของคนอเมริกัน และโดยทั่วไปจะยอมรับคนที่มีความคิดแตกต่างกัน ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของประชากรทั้งปวงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอเมริกันส่วนหนึ่งมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศ

ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาพูดตามสำเนียงท้องถิ่นยังมีอิทธิพลค่อนข้างมาก ตลอดจนทัศนคติและความเห็น ความสำคัญที่ให้แก่ชาวต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ในภาคตะวันออกฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก หนังสือพิมพ์จะเน้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในยุโรป แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันตก ทางภาคใต้รอบๆ อ่าวเม็กซิโกจะให้ความสนใจแถบละตินอเมริกา และภาคตะวันตกแถบมหาสมุทรแปซิฟิกจะเน้นความสนใจในเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย

ไฟฟ้าและน้ำประปา

ระบบไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบ 115 v. 600 cycles ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้น ถ้านักเรียนต้องการนำเครื่องไฟฟ้าจากประเทศไทยติดตัวไปใช้ จะต้องใช้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าด้วย ส่วนน้ำประปาสามารถดื่มได้จากก็อกน้ำเย็น (ในเขตเมืองใหญ่ ตรวจสอบข้อแนะนำอีกครั้งในเมืองที่อยู่)

ระบบการศึกษา

การศึกษาในสหรัฐอเมริกา แต่ละรัฐจะควบคุบ คุณภาพการเรียนการสอน และวางแผนการศึกษาของตนเอง โดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง ทุกรัฐจะมีหน่วยงานการศึกษา คล้ายกระทรวงศึกษาธิการ คอยกำหนดมาตรฐานต่างๆ แนะนำเงินงบประมาณอุดหนุนให้โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจากเงินภาษีที่เก็บได้จากประชาชนในแต่ละรัฐ สำหรับการศึกษาภาคบังคับ นักเรียนอเมริกันทุกคนจะเรียนฟรีไม่ว่าจะอยู่ที่รัฐใด จนจบชั้นมัธยมศึกษา หรือ Grade 12 สำหรับนักเรียนจากประเทศไทยที่ต้องการเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาที่อเมริกา ส่วนใหญ่จะสมัครเข้าเรียนได้ในโรงเรียนเอกชน การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจะมีข้อแตกต่าง กล่าวคือ ถ้านักเรียนที่มีถิ่นฐานในรัฐหนึ่ง จะข้ามมาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอีกรัฐหนึ่ง จะต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงขึ้นที่เรียกว่า Out of States Tuition และถ้านักศึกษามาจากประเทศอื่นจะต้องเสียค่าเล่าเรียนมากกว่าขึ้นไปอีก

ระดับอนุบาล

ชีวิตการเรียนของเด็กอเมริกัน เริ่มต้นด้วยโรงเรียนเตรียมอนุบาลหรือโรงเรียนอนุบาล ตั้งแต่อายุประมาณ 3 ปี

ระดับประถมศึกษา (Elementary School)

เด็กอเมริกันจะเข้าเริ่มเรียนอย่างจริงจังเมื่ออายุ 6 ขวบบริบูรณ์ คือเข้าเรียนในชั้น Grade 1 ซึ่งบ้านเราก็นับว่าเป็นประถมศึกษาปีที่ 1 ระบบการศึกษาของประเทศอเมริกา จะจัดแบ่งออกเป็น Grade 1 ถึง Grade 12 ซึ่งโดยหลักการแล้ว    จะจัดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 คือ Grade 1 ถึง Grade 6 หรือระดับประถมศึกษา (Elementary School)

ระดับมัธยมศึกษา (Junior High Schools/High Schools)

ช่วงที่ 2 คือ Grade 7 และ Grade 8 หรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High Schools) และช่วงที่ 3 คือ Grade 9 ถึง Grade 12 เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  (Senior High Schools) โดยทั่วไปสำหรับเด็กที่เริ่มเข้าเรียนตามปกติและเรียนต่อเนื่องไปโดยไม่ขาดตอน จะสำเร็จการศึกษา Grade 12 เมื่ออายุประมาณ 18 ปี ซึ่งนับว่าสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาต่างชาติที่เข้าไปเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาในประเทศอเมริกามีจำนวนไม่มากนัก และส่วนใหญ่จะเข้าเรียนกับโรงเรียนประจำของเอกชน หรือ Boarding School เนื่องจากโรงเรียนรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดหาหอพักให้ได้

ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

สถาบันระดับอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกามีมากมายกว่า 3,000 แห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน โดยสถาบันในระดับอุดมศึกษา จะแยกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. วิทยาลัยแบบ 2 ปี หรือวิทยาลัยชุมชน (Junior Colleges และ Community Colleges)

นักศึกษาที่เรียนในวิทยาลัย Junior และ Community Colleges สามารถเลือกเรียนได้ใน 2 หลักสูตร คือ

  • Transfer Track เป็นหลักสูตรที่เป็นวิชาพื้นฐาน 2 ปีแรกของการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยนักศึกษาจะลงเรียนวิชาบังคับ (General Education Requirements) เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นนักศึกษาสามาถโอนหน่วยกิต ไปมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อศึกษาต่อในระดับปี 3 โดยที่เกรดเฉลี่ยที่นักศึกษาทำได้ในระหว่าง 2 ปีนี้ จะเป็นตัวกำหนดว่านักศึกษาจะได้รับการตอบรับเข้ามหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับยากง่ายเพียงใด
  • Vocational Track เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสายวิชาชีพหลังจาก 2 ปีแล้ว นักศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญา (Associate Degree) ทางสาขาวิชาเลือก เช่น คอมพิวเตอร์ เลขานุการ เขียนแบบ
  1. วิทยาลัย (Colleges) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนในสาขาวิชาต่างๆ วิทยาลัยหลายแห่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาโท
  2. มหาวิทยาลัย (University) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโทและเอกในสาขาต่างๆ
  3. สถาบันเทคโนโลยี (Institute of Technology) เป็นสถาบันที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และอาจเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโทและเอก สถาบันเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่การสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ปีการศึกษา

ปีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา (Academic Year) จะเริ่มประมาณเดือนกันยายนถึงพฤษภาคม โดยมีระบบภาคการเรียนที่แตกต่างกันออกไป

  • ระบบ Semester ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ในหนึ่งปีแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา แต่ละภาคใช้เวลาเรียนประมาณ 16 สัปดาห์
  • ระบบ Quarter ซึ่งในหนึ่งปีแบ่งออกเป็น 4 Quarter แต่ละ Quarter ใช้เวลาเรียนประมาณ 10 สัปดาห์
  • ระบบ Trimester ซึ่งใน 1 ปี แบ่งเป็น 3 ภาคการศึกษา และระบบ 4-1-4 เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในสถานศึกษาบางแห่งในสหรัฐอเมริกา โดยจัดแบ่งปีการศึกษาออกเป็น 2 ภาคใหญ่คั่นด้วยภาคการเรียนสั้นๆ ที่เรียกว่า Interim เพื่อให้นักศึกษาไปทำการค้นคว้าด้วยตนเองหรือออก Field Trip

การสมัครเข้าศึกษา

นักศึกษาที่ต้องการไปศึกษาต่อสหรัฐอเมริกา ควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 1 ปี เนื่องจากการติดต่อสถานศึกษา การสอบต่างๆ การส่งเอกสาร และการพิจารณาใบสมัครต้องใช้เวลามาก การติดต่อสถานศึกษานั้น ผู้สมัครสามารถดำเนินการได้เอง โดยขอใบสมัครไปที่ Office of Admission ของมหาวิทยาลัย พร้อมระบุว่าต้องการสมัคร สาขาใด ถ้าเป็นการสมัครระดับปริญญาโทหรือเอก ต้องเขียนขอใบสมัคร ไปที่ Graduate School Admissions Office หรือ Chairman ของคณะ

หากต้องการคำแนะนำหรือการช่วยเหลือด้านข้อมูลของสถาบันการศึกษา คอร์สที่ต้องการเรียน ฯลฯ

โปรดติดต่อ บริษัท เฟอร์เธอร์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด  ทีมงานพร้อมและยินดีให้คำปรึกษาฟรี

เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัครเรียน

แบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกเรียบร้อย

  1. ค่าธรรมเนียมการสมัคร (Application Fee) ตามการเรียกเก็บของสถานศึกษาหรือสถาบันจะกำหนด ซึ่งค่าสมัครนี้จะไม่มีการคืน ไม่ว่าจะได้รับการรับเข้าศึกษาหรือถูกปฏิเสธก็ตาม
  2. ใบแสดงผลการเรียน (Transcript)
  3. สถานศึกษามักต้องการผลสอบ TOEFL, GRE หรือ GMAT สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเอก โดยปกติ ผลสอบเหล่านี้ ต้องขอให้ศูนย์สอบ เช่น Education Testing Service (ETS) ส่งผลไปยังสถานศึกษาโดยตรง
  4. จดหมายรับรองฐานะทางการเงิน (Financial Statement) ของผู้ปกครองจากสถาบันการเงินที่ผู้ปกครองเป็นลูกค้าอยู่ ในกรณีที่เป็นนักเรียนทุน ควรมีจดหมายรับรองการรับทุนแนบไปด้วย
  5. จดหมายรับรอง (Letter of Recommendation) 2-3 ฉบับ จากอาจารย์ผู้สอนหรือผู้บังคับบัญชา
  6. บทเรียงความประวัติส่วนตัวและจุดประสงค์ในการศึกษาต่อหรืออาจจะเป็นหัวข้ออื่นๆ แล้วแต่สถานศึกษาจะกำหนด ประมาณ 300-500 คำ

เอกสารเหล่านี้ ต้องส่งทางไปรษณีย์ให้ถึงสถานศึกษาก่อนวันปิดรับสมัคร สถานศึกษาจะพิจารณาจากหลักฐานที่ส่งไป หากพอใจก็จะส่งจดหมายตอบรับเข้าเรียน หลายแห่งจะให้นักศึกษาตอบยืนยันการตัดสินใจอีกครั้งว่าจะไปเรียน ณ สถานศึกษาที่ตอบรับมานี้แน่นอนแล้ว จึงจะส่งใบตอบรับอย่างเป็นทางการที่เรียกว่า I-20 Form มาให้ เพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ เป็นหลักฐานประกอบการขอวีซ่านักเรียน สถานศึกษาหลายแห่งอาจแนบรายละเอียดการลงทะเบียนเรียนมาด้วย

Further Education loading . . .

Scroll Up